เย้ ในที่สุดก็มี favourite กะเค้า อิอิ เห็นดาราทำก็อยากทำบ้าง
ต่อด้วยของเดือนธันวาค่ะ
|
||||||
เย้ ในที่สุดก็มี favourite กะเค้า อิอิ เห็นดาราทำก็อยากทำบ้าง แต่ต้องขอบอกก่อนนะคะ ว่าไม่ใช่ Beauty blogger ขอรีวิวในฐานะ user นะคะ
ทำวีดีโอมันเร็วดีเนอะ ถ้าเขียนมันจะเขียนไม่นาน ถ้ามีเวลาจะมาเขียนนะคะ
งานนี้มีรีวิว โทนเนอร์ ครีมสครับ ผงแช่เท้า และยาหม่อง ค่ะ 5555
มีสองคลิปนะคะ
ต่อด้วยของเดือนธันวาค่ะ ขอบคุณที่รับชมค่ะ
ปล. เมื่อไหร่ผมจะยาว ฮืออออออ
โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เป็นจุดหมายปลายทางที่เป็นที่นิยมไม่ว่าสมัยไหน นักท่องเทียวทั่วโลกเดินทางมายังโตเกียวเป็นจำนวนไม่น้อยในแต่ละวัน ซึ่งค่าครองชีพในกรุงโตเกียวประเทศญี่ปุ่นนั้น ก็จัดว่าเป็นเมืองที่ค่าครองชีพสูงอยู่ทีเดียว ใครที่ชอบความสะดวกสบาย หรือมาเป็นคู่ โรงแรมห้าดาว ก็เป็นทางเลือกที่ดีอย่างหนึ่งสำหรับนักเดินทาง แต่สำหรับนักเดินทางงบน้อย และเดินทางคนเดียว (เช่น แอดมิน อิอิ) ก็คงหนีไม่พ้นที่พักราคาประหยัด แบบที่ Thehoneynut.com นำมาเสนอวันนี้ค่ะ ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เราคงได้ยินคำว่า แคปซูลโฮเทล กันมาบ้างใช่ไหมคะ ที่ตอนนี้ในไทยก็เริ่มมีบ้างแล้ว แต่เราจะพูดกันในวันหลัง เพราะวันนี้เราจะพูดถึง ที่พักสำหรับนักเดินทางเดี่ยว โลเคชั่นเยี่ยม ที่โตเกียว กันจร้า ซึ่งคราวนี้เราไม่ได้จะพูดถึงแค่เรื่อง แคปซูลโฮเทล อย่างเดียวนะคะ จะพูดรวมไปถึงเกสท์เฮ้าส์ ที่เหมาะกับนักเดินทาง ที่มาคนเดียวอีกด้วยค่ะ จะมีที่ไหนบ้าง เริ่มกันเลย…
2. ข้าวสาร Kabuki อาซากุสะ โฮสเทล ข้าวสาร คาบูกิ ที่นี่โลเคชั่นดีงามอีกเช่นกัน เนื่องจากอยู่หน้าวัดเซนซอจิ พอดีจร้าาาาา แถมมีร้านซูชิอยู่ติดกัน ดีเลิศประเสริฐศรีมณีเจ็ดแสงตรงนี้ แม้ว่าจะแอบไกลจากสถานีรถไฟมาอีกนิด แต่ก็พอเดินกันไหว
3.ENAKA Asakusa Central Hostel โฮสเทล อาซากุสะ เอนากะ ยังอยู่กันหน้าวัดเซนซอจิ ที่นี่มีดีอย่างไร ก็เพราะว่าละแวกวัดนั้นเป็นย่านที่มีนักท่องเที่ยวมาก เลยทำให้มีของกิน ของฝาก cat cafe ฯลฯ เต็มไปหมด ที่พักที่นี่ลักษณะมันจะคล้าย ๆ capsule hotel ผสมกับ hostel แถมที่นี่ที่วางกระเป๋าจะกว้างขวางกว่า Asakusa riverside (ก็แน่ละมันแพงกว่า) แต่เดินไกลรถไฟไปอีกนิด (แต่ไม่ไกลมาก)
4. IZA Tokyo Asakusa Guesthouse ยัง ยังอีก ยังอยู่แถวอาซากุสะ แหมก็แถวนี้ที่พักมันถูก แถมโลเคชั่นก็ดี
ยังอยู่แถวอาซากุสะนะคะ โรงแรมนี้จะอยู่ใกล้วัด ช่องนอนก็ดูไม่น่ากลัวเหมือนแคปซูล แต่มีฝาปิดดูส่วนตัวดี
วันนี้ขอนำเสนอแค่นี้ก่อน หวังว่าคงถูกใจนักท่องเที่ยว สายเดี่ยว นะคะ สวัสดีค่าาาาา search ดูที่อื่น อื่น ๆ ข้าวสาร Original ปิดบริการชั่วคราว ฮือๆ หวังว่าจะกลับมา
โรงแรมโฮสเทล ที่มีโลเคชั่นดีงามอีกเช่นกัน เพราะมันอยู่ซอยเดียวกันกับ Asakusa riverside ที่เห็นในภาพเป็นเตียงสองชั้นสี่เตียง สำหรับนักท่องเที่ยวที่มาคนเดียว เราก็จอง 1 เตียง ที่เหลือก็จะเป็นคนอื่นที่จองมาคนเดียวเช่นกัน(ยกเว้นเรามากับเพื่อน 4 คนจองเหมาห้องเลยก็ย่อมได้)
ชื่อร้าน : The Indian Kaffe Express จาก ตอนที่แล้ว (ตอนที่ 3. ครัว Pondy กาแฟ Maggi มาซาล่า และ KFC) ร้านอยู่ไม่ไกลจากที่พักเท่าไหร่ ถ้าคนเดินออกกำลังกายประจำเดินไหวแน่นอน บอร์ดหน้าร้านเชิญชวนมาก เข้ามาข้างในกันค่ะ ร้านน่านั่งมากค่ะ มีเครื่องปรับอาการ ซึ่งอากาศตอนที่ไปนี่ไม่ร้อนเท่าไหร่ อากาศมกราของเขา ประมาณเดียวกับเมืองไทยตอนหน้าหนาว เอ๊ะ เมืองไทยมีหน้าหนาวด้วยหรือ ร้านน่านั่ง ชิค ชิค สั่งชามาดื่มกันก่อน เป็นชา Rose hip & Hibiscus สั่งมาถึง ชายรีบจะเอาน้ำตาลใส่บอกช้าก่อนโยม อิชั้นชอบแบบไม่ใส่อะไรเลย พอคุยกัน เขาว่าคนอินเดียติดน้ำตาล ติดหวาน ชาชัด ๆ rosehip มีสรรพคุณด้านผิวพรรณ ช่วยลดริ้วรอย ชะลอวัย แต่มาทำเป็นชานี่ไม่แน่ใจว่าสรรพคุณที่ว่ายังอยู่ไหม สีสวย พอดื่มแล้ว รสชาติจะติดอมเปรี้ยวนิดนึงค่ะ ช็อคโกแลตร้อน แล้วเราก็สั่งของกินที่ค่อนข้างจะหนักมานิดหน่อย ตามประสาคนอ้วน เอวิกลัวไม่อิ่มค่ะ (ได้ข่าวเพิ่งกินมาม่ามา) เลยสั่งสลัดมาอีก เอาว่ากินซอฟๆ สลัดเขามาพร้อมขนมปังปิ้งอีก 2 แผ่น ในส่วนตัวสลัดไข่เนี่ยเขาจะควักไข่แดงไข่ขาวออกจากกันเลยตามภาพ เพื่อนที่ไปด้วยสั่ง Chocolate crepe รวมทั้งหมดเราใช้จ่ายในร้านนี้ไปทั้งสิ้น 642 รูปี ก็ประมาณ 300 กว่าบาท ก็พอ ๆ กับกินในไทยนะ เสร็จจากร้านนี้เราไปเดินชมเมืองกันหน่อยค่ะ ถ่ายกันรัวๆๆๆ ตึกเขาสวยดี จริง ๆ ไม่อยากโชว์รูปตัวเองเท่าไหร่ เพราะตอนไปอินเดียนี่คืออ้วนสุดในชีวิต แอบแวะช้อป Himalaya ด้วยที่ร้าน Nilgiris ซึ่งเป็นร้านเก่าแก่เปิดมาตั้งแต่ปี 1905 ร้านนี้มีสองชั้น เดินกันให้แจ่ม เครื่องสำอางคุณสาว ๆ จะอยู่ชั้นสอง บรรยากาศก็เหมือนห้างไทยสมัยก่อน ใครเคยไปห้างวิถีเทพนครสวรรค์น่ะอย่างงั้นเลย (สมัยเมื่อสัก 15-20 ปีก่อนนะคะ เอวิไม่ได้ไปนครสวรรค์นานเหมือนกัน) ดูภาพร้าน Nilgiris มาร้านนี้นี่แทบกวาดค่ะ แล้วก็เสียดายที่ถ่ายวิดีโอมาให้ชมกันไม่ได้ ถ้าใครได้มีโอกาสมาเมือง pondicherry ถึงจะไม่ใช่เมืองฮิตสำรับพวกเราชาวไทยก็เถอะ ซื้อของฝากก็อยากให้มาร้านนี้ ของเพียบราคาไม่แพง ช้อปเสร็จก็ไปกินค่ะ (ชีวิตมีแค่นี้) ไม่ใช่ร้านนี้นะทางเดินผ่านเฉย ๆ ร้านนี้ค่ะ ที่อยู่ตามภาพเลยค่ะ มาดูเมนูกัน มีทั้งข้าวต่าง ๆ ขนมปัง มีแกง มีไก่ย่าง พิซซ่าก็มี ตาลายกันไป อาหารฝรั่ง ไก่มาแล้วค่ะ เอวิสั่งมาแค่ควอทเดียว ข้าวบริยานี สรุปว่า เราสั่งบริยานีกุ้ง 150 บริยานีปลา 140 ไก่ทันดูรี 60 รวม 350 (ราคาเป็นรูปี) ก็จัดว่าอิ่มนะ สามคน ก่อนกลับถ่ายหน้าร้านกันสักหน่อย กินกันเสร้จก็ไปเดินช้อปปิ้งตามถนนค่ะ มันจะเป็นราวแขวนเสื้อมาแขวน ๆ ขายเต็มไปหมด ราคาถูก บางตัวร้อยรูปีก็มี ซึ่งก็เป้นมือสองแหละค่ะ ในวันที่กำลังเล่าให้ฟังนี้ เอวิมีอาการไม่สบายมากเลยค่ะ เจ็บคอและอ่อนเพลียมาก หาซื้อยาก็พอได้ แต่งงๆกับร้านขายยาที่นี่ คือเขาไม่ค่อยรู้ชื่อสามัญยา สุดท้ายเลยขอเข้าไปดูเลยว่าจะเอาอะไร (ปกติเขาจะให้เราดูแต่หน้าเคาน์เตอร์) เพราะเราบอกชื่อไป เขาก้ไม่รู้จักอยู่จักแต่ยี่ห้อ ยา Antibiotic ที่นี่ก็ไม่เหมือนเมืองไทยเลย ส่วนตัวเป็นคนที่แพ้ยาบางตัว ก็ไม่เสี่ยงดีกว่า เลยซื้อแต่ยาที่พอบรรเทาอาการ เช่นแก้ไอ ขับเสมหะ ประมาณนั้นค่ะ พอกลับบ้านมาเรามาดูว่าเราซื้ออะไรมาบ้าง ห่อๆ ที่เห็นเป็นยาอมแก้ไอของ himalaya ส่วนกล่อง ๆ ด้านขวาคือ สตรอเบอรี่ จริง ๆ ในตอนนี้คือจะจบแล้วล่ะค่ะ แต่ไม่จบ เพราะมีดราม่า สักสามทุ่มชายมาหา มาคุยว่าเราต้องเลิกกัน ด้วยสาเหตุว่าแม่ของชายอยากให้เขาแต่งงานสักที อายุใกล้ 40 แล้ว อยากให้มีครอบครัว เพราะแม่เขากลัวจะไม่มีใครดูแล เราเลยจำเป็นต้องเลิกกัน แล้วฉันจะทำยังไงได้ ในเมื่อมันไม่มีทางออกค่ะ เลิกก็เลิก ก็ตามนั้น สรุปว่าทริปนี้ เอวิโสดกลางทริปเลยค่ะ จริง ๆ มันมีอะไรสลับซับซ้อนกว่านี้อีก ทีทำให้ตัดสินใจเลิก เช่นการได้เห็นสิ่งที่ไม่ควรเห็น(ขอพูดเท่านี้ ไม่เกี่ยวกับประเทศอินเดีย เป็นเรื่องบุคคล) ความเจ็บป่วยที่เกิดขณะอยู่ระหว่างทริป (ซึ่งการพูดแต่ละคำเป็นเรื่องทรมาน เจ็บคอมาก) การได้รู้จักตัวเองมากขึ้น และอะไรอีกหลายอย่าง เกิดในทริปนี้ค่ะ สรุปอีกที ว่าโสดกลางทริป แต่การท่องเที่ยวก็ยังต้องดำเนินต่อไปค่ะ เอวิยังอยู่ที่อินเดีย หลังจากนี้รูปภาพอาจจะน้อย วิดีโออาจจะพูดไม่มาก เนื่องจากสภาพร่างกายและจิตใจ ขอบคุณที่จะติดตามอ่านกันต่อไปนะคะ (ยังไม่จบนะ) จาก ตอนที่แล้ว (ตอนที่ 2 เที่ยว ๆ กิน ๆ Pondicherry แวะ Auroville) สวัสดีค่ะ ในตอนที่จะเล่าให้ฟังนี้ เป็นวันอาทิตย์ที่อินเดียค่ะ โดยปกติเอวิอยู่บ้านก็จะตื่นเช้าอยู่แล้ว ยังอยู่ที่พอนดี้นะคะ ไปดูวิดีโอกัน (ข้างล่างวิดีโอมีรูปภาพค่ะ เผื่อใครไม่สะดวกดูวิดีโอ) ทีนี้การตื่นเช้าก็ทำให้หิวเร็วสิคะ ทำยังไง เวลา 7 โมง (นี่นับว่าสายแล้วนะ) ไปขุดหาของกินดีกว่า อพาร์ทเม้นท์ที่พัก อยู่บนชั้นสามค่ะ เปิดประตูเข้าไปจะเป็นห้องรับแขก ต้องเดินเข้าไปหน่อยถึงจะห้องนอน ห้องน้ำ และมีห้องครัวให้ด้วย มีอุปกรณ์พร้อม จานชามหม้อ ทุกอย่างมี ที่เหลืออยู่ที่ฝีมือ เตาไฟฟ้ามีให้ อันเนื่องมาจากเมื่อวาน แวะร้านขายของชำ ซื้อของใช้ต่าง ๆ ซื้อกาแฟ และมาม่าแขกมา น้ำยาล้างจาน 20 รูปี กาแฟซอง กาแฟชงแล้วสีอย่างงี้ คือกาแฟ นี่ซองละ 2 รูปี (แต่เป็นเงินไทยก็บาทเดียว) ไม่ใช่ทูอินวัน ดื่มเข้าไปนี่อื้อหือ……………ขมชิหอย… ใส่น้ำตาลอิควลเข้าไปแล้วยังขม อ่ะแม่เจ้า ดูข้างซองนี่เขียนว่า ผสม Chicory คือไร? ไปหาข้อมูลมามันเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่ง ก็ไม่รู้ว่าใช้ส่วนไหน แต่ว่าขมมาก สรุปว่า ไม่อร่อยเอาซะเลย ต่อไปเป็นมาม่าแขกไม่ใช่มาม่าหรอก เรียกให้ถูกมันคือ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปตราแม๊กกี้ รส มาซาลา ว่ากันต่อถึงแม๊กกี้ จะให้อธิบายยังไงดีค่ะ คือมันรส มาซาลา นั่นแหละ กลิ่นเครื่องเทศมาเต็มตั้งแต่เปิดซอง แต่ซองก็เปิดยาก ถ้าหิวแล้วไม่มีกรรไกรนี่เซ็ง ใส่เครื่องปรุง สีจัดจ้าน ส่วนเส้นก็แน่นหนัก ไม่ลื่นปรื้ดเหมือนมาม่าบ้านเรา เอาล่ะค่ะ จบเรื่องกิน อันนี้มื้อเช้าค่ะ มื้อต่อไป (ใช่มื้อเที่ยงป่าวนะ อิอิ) จะไปร้านไหน บอกเลยว่าห้ามพลาด
สถานที่ท่องเที่ยว : Auroville และ Pondicherry อินเดียใต้, India จาก ตอนที่แล้ว (แวะดม ชมอินเดียตอนที่ 1. อินเดียจ๋า ฉันมาแล้วจ้ะ) สวัสดีตอนเช้าจาก Pondicherry ค่ะ (หรือชื่อใหม่ puducherry เรียกเล่น ๆ พอนดี้) อย่างที่บอกไป เมือง Pondicherry เป็นเมืองที่ถูกปกครองโดยฝรั่งเศส มาประมาณ 300 ปี คือช่วงราวปี 1674 ถึง 1956 โดยในช่วงอาณานิคมราว ๆ นั้น อินเดียก็จะมีฝรั่งเข้ามาล่าอาณานิคม บางส่วนตกเป็นของอังกฤษ โปรตุเกส ดัชต์ และบางส่วนเป็นของฝรั่งเศส เรียกว่า French india ในส่วนของ french india จะมีหลายเมืองค่ะ แต่พอนดี้เป็นเมืองเอก (อันนี้คร่าว ๆ นะคะ เท่าที่อ่านมา) ก็เลยทำให้บ้านเรือนต่าง ๆ มีรูปแบบไปในทางยุโรปเป็นส่วนมาก ชื่อถนนหนทางก็เป็นภาษาฝรั่งเศส แต่ผู้คน ก็ยังคงมีความเป็นอินเดีย อยู่ด้วยค่ะ และคนพอนดี้ก็มีที่ถือสัญชาติฝรั่งเศสและพูดฝรั่งเศสได้พอสมควรเชียวค่ะ ทั้งที่หน้าตาเป็นอินเดียนะคะ ไปชมวิดีโอกันค่ะ (หากไม่สะดวกชมวิดีโอสามารถเลื่อนลงไปข้างล่างได้ มีบรรยายด้วยภาพอยู่ด้วยค่ะ) ที่พักของเราอยู่ในเมืองพอนดี้เลยค่ะ และไม่ไกลจากฝั่งทะเลด้วย ที่พักที่ให้ชายจองนี้ เป็นอพาร์ทเม้นท์ค่ะ คือที่อินเดียนี้ ชายหญิงที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันถูกต้องตามกฏหมาย ไม่สามารถเข้าโรงแรมด้วยกันได้นะคะ ไม่ว่าจะเป็นเข้าไปนั่งเล่นกันก็ตาม และขามาของเราทริปนี้จะมาถึงพอนดี้ตีสาม ถ้าเช่าโรงแรมมันก็คงไม่คุ้ม เลยคุยกันว่า เช่าเป็นที่ที่เขาให้เช่าระยะสั้นดีกว่า เพื่อที่ก่อนเรามาถึง ชายจะได้รับกุญแจมาไว้ให้ จึงเป็นที่นี่ค่ะ ที่พักของเราอยู่ตรงข้ามกับสถานพยาบาลค่ะ ประมาณว่าดูแลผู้สูงอายุ อย่างที่บอกว่าเมื่อคืนมาถึงตีสาม โอ๊ย มึดมาก คลำหาอะไรก็ไม่เจอ ปลั๊กก็แปลกประหลาด (แปลกสำหรับเรา สำหรับเขามันก็ไม่แปลกหละเนอะ) อันนี้ถ่ายมาตอนเช้าค่ะ เวลาจะเสียบปลั๊กต้อง เปิดสวิตช์ด้วย มันถึงจะติด พัดลมก็เหมือนกัน หมุนอย่างเดียวพัดลมไม่ติด ต้องกดสวิตช์ด้วยเหมือนกัน ประมาร 10 โมง หิวกำลังได้ที่ ออกไปหาอะไรทานกัน พร้อมชมเมืองพอนดี้ตอนกลางวันด้วย ชาวอินเดียส่วนใหญ่ มักใช้มอเตอร์ไซค์ในการคมนาคม และเมืองพอนดี้นี้ เป็นเมืองที่ถนนค่อนข้างแคบ แม้ว่าจะวางผังเมืองเป็นล๊อก ๆ ที่เชื่อมถึงกันแบบฝรั่งก็ตาม สำหรับอาหารเช้า เราแวะร้านนี้ ซึ่งเป็นร้านแรกในชีวิต สำหรับประเทศอินเดีย อาหารเพียบเลย หลากหลาย แต่สั่งไม่เป็น น่าจะเป็นน้ำราดอะไรสักอย่าง (ถ่ายมาก็ไม่ชัดเล้ยยยย) แล้วชายก้สั่งสิ่งนี้มาให้ เหลือง หอม น่ากิน เรียกว่า Sambar rice ค่ะ ต่อไป…. เรียก ว่าโดซา มาเป็นชุด แบบข้างล่างนี่เรียกว่า กีโรซ โดซา เทียบกับหน้านี่อย่างใหญ่ เสร็จจากอาหารเช้า (?) เราก็เดินทางต่อไป Auroville ค่ะ Auroville เป็นสิ่งปลูกสร้างในเขต วิลุปปูรัม ( Viluppuram) ที่อยู่ไม่ไกลจากพอนดิเชอรี่ สร้างในปี 1968 โดย The mother หรือ Mirra Alfassa ผู้ซึ่งมุ่งเน้นให้สถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่สำหรับทุกคน ไม่จำกัดเชื้อชาติศาสนา เพราะเชื่อว่า ทุก ๆ คนมีความเป็นหนึ่งเดียว (ข้อมูลจากวิกิพีเดีย) การจะเข้าไปไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย แต่ต้องอีเมล์หรือโทรไปจองก่อนวันเข้าชม 3-7 วัน รายละเอียดที่นี่ พวกเราไม่ได้จองที่จะเข้าไปข้างใน Matrimandir (ตึกกลม ๆ เคลือบด้วยทอง) จึงถ่ายรูปมาแค่นี้ค่ะ ส่วนใหญ่ผู้ที่จะเข้าไปข้างในเขาจะเข้าไปนั่งสมาธิกัน ระหว่างทางที่นั่งรถมาจะเห็นฝรั่งเดินมาที่นี่หลายต่อหลายคน ไม่ค่อยเห็นนั่งรถมาเท่าไหร่ หรือวันที่ไปอาจไม่เห็นก็ไม่ทราบได้ จริง ๆ ปากทางเข้าไป Auroville เป็นเกสท์เฮ้าส์เสียหลายที่ วันนั้นอากาศดี ไม่ร้อน (ถ้าเปิดวิดีโอดูจะได้ยินเสียงลม) เราถ่ายรูปกันพอประมาณ แล้วเราก็กลับเข้าเมืองพอนดี้กันค่ะ ชายพาไปทานชาที่ร้านนึง ร้านนี้อยู่บนชั้นสองของอีกร้าน (ยังกะญี่ปุ่นเนอะ) บอกว่าชาร้านนี้อร่อยมาก ต้องมาทานทุกวัน ดูเมนูก่อนค่ะ เวลาจะซื้ออาหารร้านนี้ต้องแลก token กับป้าที่นั่งหน้าประตูก่อนนะคะ (ดุมาก แง๊) มาแล้ว นี่คือ mint tea หอมพุ่งมาแต่ไกล ราคา 18 รูปี คิดเป็นเงินไทยง่าย ๆ หารสอง เป็น 9 บาท ดื่มชาเสร็จเราไปต่อกันที่ KFC จริง ๆ เมื่อคืนตอนลงเครื่องมาเพื่อนขอให้พาไปตั้งแต่ตอนนั้นเพราะอยากกิน KFC แต่มันปิดแล้ว หลังจากทานชาเสร็จเพื่อนก็ขอให้พาไปอีก เลยขับรถออกมาจากตัวเมืองพอนดี้อีกครั้ง น่าจะประมาณ 6-7 กิโล อยู่ติดไฮเวย์นะคะ มาดู KFC ของพอนดี้กันค่ะ มีรูป krushers แต่พอสั่งจริง ๆ ไม่มี สั่งอะไรก็ไม่ค่อยมี คนแน่นร้าน (ไม่กล้าถ่ายเขามาตรง ๆ ) สั่งอาหารเสร็จต้องถือใบไปต่อแถวจ่ายเงินอีกแถว เขาถึงหยิบอาหารให้ สั่งอะไรก็หมด สรุป ได้ไก่ 6 ชิ้น รวมทั้งสิน 474 รูปี คิดเป็นเงินไทยก็ สองร้อยกว่าบาท ได้ไก่มา 6 ชิ้น สังเกตดูจะมีคิดค่าถุงพลาสติกอีก 3 รูปีอีกด้วย เพราะคนในร้านเยอะ เพื่อนเลยไม่อยากทานในร้าน จากนั้นเพื่อนก็เกิดอยากกินข้าวหมกไก่ขึ้นมาอีก เราต้องกลับเข้ามาในเมือง ไปร้านนี้กันค่ะ zaffron ที่ถนน Anna salai พิกัด หอมมาตั้งแต่เดินเข้าร้าน ร้านนี้มีแอร์นะคะ นั่งได้สบาย การจัดเรียงอาจดูไม่ค่อยงาม แต่ร้านเขาสะอาดใช้ได้ทีเดียว หลังจากตระเวนกินมาอย่างหนักหน่วง เราไม่ได้ทานที่ร้านหรอกค่ะ ซื้อกลับบ้าน เราซื้อข้าวหมกไปทานที่บ้านกันค่ะ ข้าวหมกนี้ เราเรียกว่า Briyani (อ่านว่า บริยานี) ก่อนเข้าบ้านเราแวะร้านขายของชำ ที่นี่จะซื้อเขาต้องบอกว่าจะเอาอะไร เขาไม่ให้หยิบเอง (ดูท่าพวกหยิบฉวยจะเยอะ) เลยซื้อชา กาแฟ น้ำยาล้างจาน ผงซักฟอก ซองเล็ก ๆ และซื้อน้ำขิงมาทาน เป็นขวดแช่เย็น ตระเวนกินวันนี้ก็จบแค่นี้ค่ะ วันถัดเป็นอาหารเช้าเล็ก ๆ น้อย ๆ ไปอ่านกันค่ะ ขอบอกกันตรง ๆ ที่ไปอินเดียคราวนี้ ไม่ได้มีอะไรอยู่ในหัวเลยค่ะ ไปที่ที่ไปก็ไม่ได้ฮิตในนักท่องเที่ยวชาวไทยสักเท่าไหร่ เอาน่ะ บอกกันตรง ๆ ว่า “ตามผู้ชายไป” !!! แฟนเหรอ เราเรียกเขาว่าแฟนค่ะ แต่เขาเรียกเราอะไร ช่างเขาเถอะค่ะ อี่นี่ฉันไม่แคร์ บอกตรง ๆ กันอีกนิดนึงว่าแก่แล้ว เรื่องอื่นพักไว้ก่อน จะเป็นเนื้อคู่หรือไม่ใช่ ก็ช่างมัน ตอนนี้ขอไปเที่ยวก่อนนะ คนที่เคยอ่านบล๊อกเก่าแก่อาจจะจำได้ ฉันเคยพูดถึงผู้ชายอินเดียคนนึง ตั้งแต่ปี 2548 เขายังอยู่ค่ะ !!!! ปีนี้จะครบรอบ 10 ปีที่รู้จักกัน ไม่ต้องรู้ว่าเราคบกันแบบไหน เพราะเราเองก็ไม่รู้มีแต่คนชอบถามว่าเป็นแฟนเหรอ ฯลฯ คือก็ไม่รู้อ่ะ รำคาญคนถาม แฟนก็แฟนวะ (อิอิ แอบอ้างเลย เรื่องเนียนถนัด แต่โปรดอ่านต่อไป เพราะตอนจบสถานภาพเปลี่ยน) กลับมาเรื่องเที่ยวต่อ !!! เอาเป็นว่าจากตอนที่แล้ว (ตอน 0) ฉันได้ไปกรอกวีซ่าออนไลน์อินเดียแบบใหม่มาเรียบร้อยแล้ว จะหมู่หรือจ่าไม่รู้ รู้แต่ว่าได้วีซ่าแล้ว เลือกไปลงที่สนามบินเชนไน ที่ใกล้บ้านเขาคนนั้นนั่นแหละ เชนไน หรือชื่อเก่า Madras เป็นเมืองเอกที่อยู่ในรัฐ Tamilnadu ที่อยู่ชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศอินเดีย ใช้เวลาเดินทางโดยเครื่องบิน จากประเทศไทย จะใช้เวลาราว ๆ สามชั่วโมง สายการบินที่เป็นที่นิยม มี AirAsia AirIndia และการบินไทย (สายอื่นก็มีนะคะ แต่ต้องไปหยุดที่เดลีก่อน นั่นคืออ้อมมาก) คนละแวกนี้พูดภาษา Tamil เป็นหลักนะคะ แต่บ้านของชาย อยู่ที่เมือง Puducherry ( ชื่อเดิม Pondycherry) มีชื่อที่เรียกสั้น ๆ ว่า Pondy ค่ะ Pondy เป็นเมืองที่อยู่ทางใต้จากเชนไน ด้านติดชายฝั่ง ขับรถประมาณสองสามชั่วโมง เมืองนี้ถูกปกครองโดยฝรั่งเศสปี 1674-1954 ก็ราว ๆ 300 ปี ดังนั้นถนนหนทาง บ้านเรือนจะออกไปในแนวยุโรป ชื่อถนน ชื่ออาคารเป็นภาษาฝรั่งเศส และยังมีประชากรบางกลุ่มที่พูดอ่านเขียนภาษาฝรั่งเศสได้รวมถึงถือสัญชาติฝรั่งเศสด้วยค่ะ ย้อนไปเรื่องวีซ่านิดนึง ตอนที่แล้ว ได้พูดถึงการทำ TVoa ของอินเดียไปแล้ว ทีนี้พอได้วีซ่าแล้วตอนแรกเข้าใจว่าให้ปริ้นท์อีเมล์ไป ผิดค่ะ อิชั้นได้ปรึกษาล๊อกอินในพันทิป พี่นกเถื่อน พี่เขาก็เพิ่งทำวีซ่าแบบนี้เหมือนกัน เขาบอกว่าให้เข้าไปในเว็บทำวีซ่าของอินเดีย https://indianvisaonline.gov.in/visa/tvoa.html คลิ๊กตรงไอคอน สีเขียว มันจะพาเราไปหน้านี้ เอาเลข application id ที่เขาส่งกลับมาทางเมล์ และข้อมูลต่าง ๆ ใส่เข้าไป มันจะพาเราไปหน้า print ก็ print แผ่นนั้นไปใช้ได้เลยค่ะ เป็นแบบนี้ ปริ้นท์ออกมา พร้อมลุยทันที เมื่ออุปกรณ์พร้อมแล้ว (วีซ่า พาสปอร์ต ตั๋วเครื่องบิน) เราก็ไปสนามบินเลยค่ะ ห๊ะ อะไรนะ อ๋อ รอให้ถึงวันเดินทางก่อน เออๆ วาปตามมาเลยจ้า เริ่มต้นกันที่ สนามบินดอนเมือง ไฟลท์ที่ไปเชนไน ของสายการบินแอร์เอเชีย ขาไปจะมีเครื่องออกจากไทยทุกวัน เว้น อังคารและวันเสาร์ โดยออกจากไทย เวลา 19.55 ถึงเชนไน เวลา 21.45 ค่ะ ขากลับมีออกจากเชนไนทุกวัน ยกเว้น อังคารและวันเสาร์ ออกจากเชนไน 22.30 น.ถึงไทย 3.20 น. ( มกราคม 2558) หากใครสะดวก สามารถชมแบบวิดีโอได้นะคะ (ด้านล่างต่อจากวิดีโอ มีรูปภาพอยู่เผื่อใครไม่สะดวกดูวิดีโอ) ออก 19.55 น. สัมภาระเรามีเท่านี้ค่ะ กระเป๋าหนึ่งใบ (อยู่ใต้มาม่า) มาม่า 1 ลัง (ของชาย ติดมาม่ามาก ต้องกินตลอด) และเป้สีม่วง ของทั้งหมดนี่เราโหลดค่ะ ซื้อน้ำหนักกระเป๋าไว้ 20 กิโลทั้งไปและกลับ นี่คือน้ำหนัก กระเป๋าใบใหญ่ พอชั่งรวมทั้งหมดก็ 12 กิโลโดยประมาณ เที่ยวบินของเรา 19.55 น. พร้อมค่ะ เครื่องบินลำใหญ่ ๆ ลำไหนของฉันนะ ประมาณหนึ่งทุ่ม เราก็ถูกโหลดเข้าไปอยู่บนเครื่องบินค่ะ (พูดเหมือนตัวเองเป็นสิ่งของยังไงไม่รู้) บอกเลยว่าขึ้นเครื่องบินเดี่ยวนี้เสียว ๆ หลายอย่าง(ข่าวสารมันเยอะ) บอกตรง ๆ ตัวเอวิเองก็ออกจะกลัว ๆ เครื่องบินอยู่นะ แต่เขาอย่าไปออกอาการเยอะ มันเสียภาพลักษณ์ เมื่อเครื่องขึ้น แอร์สจ๊วตเสริฟอาหารกับผู้โดยสารที่สั่งอาหารมา และผู้ที่อยากทาน เอวิสั่งน้ำส้ม 1 กล่อง ยูนิฟธรรมดา ทานบนฟ้า ราคา 60 บาท (เซเว่นหน้าปากซอยบ้าน 18 บาท) คิดซะว่าเป็นค่าเมฆ หลังจากอาหาร ก็เป็นการซื้อขายสินค้าดิวตี้ฟรี ใครใคร่ซื้อก็ซื้อกันไป ผู้โดยสารส่วนใหญ่เป็นชาวอินเดียค่ะ (เห็นมีหน้าตาคล้าย ๆ เรา 2-3 คน แต่ก็เป็นคนจีน) ผู้โดยสารชาวอินเดีย มาเที่ยวเมืองไทย กลับบ้าน ท่านที่ไม่อยากเหลือเงินไว้ ก็มาช้อปบนเครื่องนี่แหละ เมื่อปิดตลาด แอร์และสจ๊วตก็แจกใบกรอกเข้าเมือง เคยเห็นใบที่อีแฟน มันทิ้งไว้ที่บ้าน ปรากฏว่าไม่ใช่แบบนี้ค่ะ ก็เงิบไปเล็กน้อย (ไม่เยอะ เพราะเราต้องรักษาภาพลักษณ์) สองใบล่างนี้ต้องกรอกรายละเอียดของเราเป็นใบเข้าเมือง (รายละเอียดของตัวเรา) กับใบศุลกากร (เอาอะไรมาบ้าง มีของต้องห้ามไหม) ด้านหลัง นอกจากนี้มีใบสกรีนโรค อีโบล่า แต่ถ่ายเอกสารมาตัวเล้กมาก ซีดมาก เกือบจะมองไม่เห้น ขนาดเราทำงานสายสุขภาพ ยังเดาไม่ออกเลยว่าเขียนว่าอะไร เฮ้อ กรอกเสร็จ (ของเพื่อนด้วย) ก็พยามจะหลับ แต่มีมนุษย์เด็กล้อมกรอบ ด้านหน้าเด็กอินเดีย ซ้ายขวาเด็กฝรั่งเศส สรุปว่าพยามแล้ว เป็นหลับ ๆ ตื่น ๆ นึกไปถึงปลายทาง ชายบอกว่าจะมารอสี่ทุ่ม ที่สนามบินเชนไน ไม่ให้บุคคลภายนอกเข้าไปรับได้เหมือนบ้านเรานะคะ คือรอรับ “นอก” สนามบินเลย เขาบอกว่าออกมาจากอาคาร มีถนนเล็ก ข้ามถนนไปเป็นที่จอดรถ ให้ข้ามมาที่จอดรถได้เลย เวลา 21.30 เครื่องบินก็ถึงสนามบินเชนไน ยังค่ะ ยังไม่ดีใจ เพราะด่านต่อไปคือ ตม. และเราสองคนที่มาด้วย TVoa ที่เพิ่งเริ่มใช้เมื่อ พ.ย.57 ในสนามบินมีรูปลั๊กเยอะแยะไปหมด มีเกือบทุก ๆ 1 เมตรเลย ตอนที่ไปถึง มันมีเคาน์เตอร์ visa on arrival แต่ไม่มีคน เลยไปถามเขา จนท บางคนก็งง บอกให้ไปต่อแถวปกติ พอไปต่อแถวปกติ เขาก็มาเปิดช่อง Tvoa ให้ เห็นฝรั่งบางคนโดนถามนานอยู่ และให้โชว์เงิน แต่ตัวเองไม่โดนถามไม่โดนให้โชว์เงินอะไรนะคะ เขาก็ปั๊มให้ พอปั๊มเสร็จจะออกจาก ตรง ตม. จนท อีกคนเปิดดูพาสปอร์ตถามไหนวีซ่า เลยชี้ให้ดูว่าทำ Tvoa มา เขาก็ไม่ว่าอะไร ขากลับ จนท ถามว่าทำ Tvoa มาเหรอ ไหนเลขวีซ่า ก็เลยชี้ให้ดูว่า จนท ขาเข้าเขียนไว้เองตัวเบ้อเริ่มในพาสปอร์ต จนท ไม่กวนทิง นะคะ แต่ว่าดูเขางง ๆ มากกว่า พออธิบายเขาก็เข้าใจ ถ้าทำ Tvoa มาก็มาตรงนี้เลย เสร็จจาก ตม. รับกระเป๋าเสร็จ ออกมาด้านนอก อยากได้สักชุด ออกมาข้างนอกมาเจอถังน้ำ ถามชาย ชายเล่าประมาณว่าเชนไนผลิตน้ำเองไม่ได้ ต้องสั่งมา นี่คือข้างนอกที่บอกว่าคนมารับ ต้องมารับนอกอาคารสนามบินเลย มาถ่ายภาพตัวเอง ภาพแรกที่อินเดียแบบง่วงผสมงง ข้างนอกคนเยอะวุ่นวายดีแท้ ก่อนออกจากสนามบิน เพื่อนที่ไปด้วยเกิดปวดฉี่ แวะฉี่ก่อนค่ะ เข้าห้องน้ำเสร็จ เราเดินทางต่อไปยังเมือง Pondicherry ค่ะ ใช้เวลาประมาณสามชั่วโมง มาค่ะ มาทำวีซ่ากัน บล๊อกนี้เขียนมาประมาณ 2 ปี กรุณาตรวจสอบความเป็นปัจจุบันกับทางการอีกทีนะคะ
อินเดียอนุญาตให้นักท่องเที่ยวจาก 43 ชาติเดินทางเข้าอินเดียได้โดยไม่ต้องขอวีซ่าที่สถานทูต สามารถกรอกออนไลน์ได้เลย ได้แก่ประเทศ Australia, Brazil, Cambodia, Cook Islands, Djibouti, Fiji, Finland, Germany, Indonesia, Israel, Japan, Jordan, Kenya, Kiribati, Laos, Luxembourg, Marshall Islands, Mauritius, Mexico, Micronesia, Myanmar, Nauru, New Zealand, Niue Island, Norway, Oman, Palau, Palestine, Papua New Guinea, Philippines, Republic of Korea, Russia, Samoa, Singapore, Solomon Islands, Thailand, Tonga, Tuvalu, UAE, Ukraine, USA, Vanuatu, and Vietnam. โดยต้องลงที่สนามบินต่อไปนี้ Delhi, Mumbai, Chennai, Kolkata, Hyderabad, Bengaluru, Kochi, Thiruvananthapuram และ Goa
Ahmedabad, Amritsar, Bagdogra, Bengaluru, Calicut, Chennai, Chandigarh,Cochin, Coimbatore, Delhi, Gaya, Goa, Guwahati, Hyderabad, Jaipur, Kolkata, Lucknow, Mangalore, Mumbai, Nagpur, Pune, Tiruchirapalli, Trivandrum & Varanasi 2 ท่าเรือ Cochin, Goa, Mangalore โดยบุคคลที่ทำวีซ่าแบบนี้จะเข้าอินเดียได้ปีละ 2 ครั้ง(ปีปฏิทิน) ทำอันนี้แล้วครั้งหน้าจะไปใหม่ ต้องกรอกใหม่ หรือไปครั้งที่ 3 ต้องไปทำที่สถานทูตนะคะ ถ้ามั่นใจไปสองครั้งแน่นอน ควรไปทำ multiple ที่สถานทูตคุ้มกว่า ส่วนคนที่จะไปเนปาลด้วย ทำแบบนี้ไม่ได้นะคะ ต้องทำ multiple ที่สถานทูต เพราะเขานับ เหยียบอินเดีย ออกไปเนปาลเป็น 1 ครั้ง กลับเข้ามาเป็นเหยียบอินเดียครั้งที่สองนะคะ ค่าวีซ่า 60 เหรียญ จ่ายจริง 62 น่าจะเป็นค่าธรรมเนียม อัพเดท พย.58 ค่าวีซ่า คนไทย 48 เหรียญ (อาจมีค่าธรรมเนียมเพิ่มเติม) รายละเอียดค่าวีซ่าผู้ถือพาสปอร์ตประเทศต่าง ๆ คลิกที่นี่ เริ่มทำวีซ่า…….. ไปที่เว็บ https://indianvisaonline.gov.in/visa/tvoa.html ขั้นตอนคร่าว ๆ กรอกข้อมูลไปก่อน พาสปอร์ตทั่วไปก็ ordinary ส่วนสนามบินที่ไปก็มีให้เลือก 9 สนามบินตามที่บอกไปข้างต้น โดยสามารถกรอก่อนวันที่บินจริงได้ 34 วัน ** ตรงนี้สำคัญมาก มันสามารถเลื่อนได้ก็จริง เวลาจะบินจริง แต่ถ้าเกินช่วง 34 วันนับจากวันกรอก แล้วบิน มันจะทำไม่ได้ค่ะ (ลองดูใบวีซ่าที่ได้ตอนได้แล้วนะคะ) ทีนี้เราจะได้เลขอ้างอิงมา จดไว้เลยค่ะ เพราะถ้าเรากรอกนานเกินกำหนด ไปฉี่ ไปนั่นไปนี่ กลับมามันจะกรอกต่อไม่ได้ ให้เอาเลขนี้ไปใส่ตรง https://indianvisaonline.gov.in/visa/TempFileCapcha.jsp?filetype=tvoa ก็สามารถกรอกต่อจากเดิมได้ค่ะ (ต้องกด save ข้างล่างก่อนนะคะ มันถึงจะเก็บไว้ได้) ล่างสุดที่ถามว่า any other valid passport คือถ้ามีพาสปอร์ตอื่นที่ยังใช้ได้ก็ให้กรอกต่อไป ถ้าไม่มีคลิ๊ก no จะไม่มีรูปแบบข้างล่างนี้นะคะ กรอกต่อ ที่อยู่ ชื่อพ่อชื่อแม่
ละเอียดกันไป คือถ้าเป็นทหาร ตำรวจ ก็มีช่องให้ต่ออีกนะ ต่อไปก็เป็นรายละเอียดการท่องเที่ยว เคยไปไหนมาบ้าง ก็จัดไปรัวๆ ส่วน SAARC นี่เป็นประเทศแถบเอเชียใต้ คลิก yes จะมีประเทศให้เลือก ก็ดู ๆ ถ้าไม่เคยไป จากรูปด้านบน มีให้ใส่คนรู้จักที่อินเดีย เอวิก็ใส่นะ แต่ไปปรึกษา login พันทิป คุณนกเถื่อน บอกว่าถ้าไม่มีก็ใส่ชื่อโรงแรมไปได้ สุดท้าย โหลดรูปขึ้นไป หน้าตรง พื้นหลังขาว หรือสีอ่อน แบบรูปติดบัตรทั่วไป ต่อไป เลือก doccument type เป็น passport แล้วโหลดพาสปอร์ตที่สแกนมา ขึ้นไป ต่อไปมันจะแจ้งว่าเรากรอกเสร็จ และให้เลขอ้างอิงชุดใหม่มา จดไว้ ขั้นตอนนี้ให้เลือกว่าจะจ่ายเลยหรือทีหลัง แต่วีซ่าจะทำการอนุมัติเมื่อจ่ายแล้วเท่านั้น ถ้าจะจ่ายทีหลังก็เอาเลขชุดนี้(ใหม่) กรอกตอนจะจ่ายเงิน เอวิเลือกจ่ายเลย มันจะพาไปหน้าจ่ายเงิน ใช้บัตรเครดิต/เดบิต อย่าลืมสังเกต หน้าจ่ายเงินต้องขึ้นด้วย https:// เท่านั้น อันนี้แปลว่า เสร็จแล้ว รออนุมัติ 72 ชั่วโมง ตอนนี้ในอีเมล์ก็จะมีเมล์เข้ามา ก็ลั้นลารอคอยไปชิว ๆ แต่ !!! ตอนเย็นกลับบ้านมา มีเมล์เข้ามาล่ะ กรี๊ดดดดด ขอเช้าได้เย็น (ตอนแรกเปิดหาให้วุ่นวาย ว่า granted แปลว่าได้แน่นะ 55555) สังเกตวันที่ค่ะ เขามีช่วงเวลากำหนดให้เราเข้า อินเดียได้ตามวันที่ที่ระบุเท่านั้น ดังนั้นก่อนไปต้องชัวร์ป้าบ ๆ จริง ๆ ว่าไปช่วงนี้แน่นอน สรุป ของที่ต้องเตรียม
ปล. เราไม่ได้รับทำวีซ่าน๊า มาแชร์ประสบการณ์เฉย ๆ และตอนที่ไปคือ มกรา 58 นะคะ บางข้อมูลมีอัพเดทนะคะ ในตอนหน้าจะมาเล่าว่ายังไงต่อนะคะ.. ตามมาเร็ว ตอนที่ 1. อินเดียจ๋า ฉันมาแล้วจ้ะ
2c407f3914ac8488408389f1281f85b20501daad.html วันนี้มาเขียนหัวข้อเกี่ยวกับ “อะไรๆในห้องน้ำ” อีกแล้ว แต่คราวนี้เป็นห้องน้ำโรงแรมจ้า โดยส่วนตัวมีโอกาสไปพักโรงแรม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการอบรมสัมนา โดยในจุดนี้ก็จะไม่ค่อยทราบค่าใช้จ่ายสักเท่าไหร่ แต่ก็ชอบที่จะถ่ายภาพเก็บไว้ โดยเฉพาะพวกของใช้ในห้องน้ำ เอวิว่ามันเป็นศิลปะอย่างนึง และเป็นอย่างนึงที่เป็นตัวแทนโรงแรมได้อย่างดี เพราะผู้เข้าพักเมื่อใช้ไม่หมดก็มักจะเก็บกลับไปด้วยเสมอๆ
ครั้งนี้นำภาพมาให้ชมสองโรงแรมค่ะ คือ โรงแรม ไมด้า แอร์พอร์ต และ อัมพวารีสอร์ตแอนด์สปา
มาที่ไมด้ากันก่อน ไมด้าสาขานี้อยู่ถนนแจ้งวัฒนะค่ะ ในซอยแจ้งวัฒนะ 10 (ซอยตรงข้ามศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ) ภาพชุดนี้ถ่ายเมื่อ มิถุนายน 2559
มาดูของใช้ในห้องน้ำกัน ที่นี่พรึบ
![]() ![]() ชักโครก
![]() ในส่วนอาบน้ำ ห้องที่ได้ไม่มีอ่างอาบน้ำนะคะ แต่แยกโซนเปียกแห้ง โดยโซนเปียกมีผ้าใบกั้น ส่วนฝั่งข้างฝาจะเป็นกระจกฝ้า ๆ ดูเซ็กซี่ แต่ฝั่งกระจกฝ้าก็มีม่านปิดนะ เพราะมันจะเห็นเป็นเงา ๆ ก็สามารถปิดได้
![]() ไปกันที่อีกโรงแรมนึงค่ะ บ้านอัมพวารีสอร์ตแอนด์สปา ที่อัมพวา ภาพชุดนี้ถ่ายมาเมื่อ กรกฎา 58 ห้องที่พักเป็นห้องแบบพูลวิลล่า หนึ่งหลังมีสองห้องนอน แต่ละห้องนอน มีห้องน้ำของตัวเอง เชื่อมกันได้ตรงห้องรับแขก มีสระน้ำส่วนตัว แหะ ๆ ไม่ได้ถ่ายรูปมา เอาห้องน้ำมาให้ชมกันค่ะ ชมอุปกรณ์ก่อน
![]() ที่นี่ด้วยความเป็นสปา จะเป็นกลิ่นสมุนไพร ตะไคร้ ๆ จ้า และเครื่องอาบน้ำขวดใหญ่เอากลับบ้านไม่ได้น๊า แต่เขามีขายที่ร้านกีฟช้อปของโรงแรม ราคาถูก (ขวดเล็กสี่สิบมั๊ง)
มาชมห้องน้ำค่ะ
![]() ตรงห้องน้ำมีกระจก บังแสงด้วยมู่ลี่ ด้านนอกเป็นสระน้ำส่วนตัว มีรั้วปิด เพราะฉะนั้นกลางคืนเอวิจะเปิดมู่ลี่อาบจ้า ได้บรรยากาศ
![]() สีชมพูตรงอ่างคือสบู่ล้างมือ หอมดอกไม้
ส่วนฝักบัวอาบน้ำ
![]() ที่นี่ถ่ายเตียงมาด้วยอิอิ
![]() เอาล่ะ แค่นี้ก่อนนะคะ ครั้งหน้ามีโอกาสไปโรงแรมไหน จะพยามถ่ายภาพมาไม่มากก็น้อยนะคะ ชอบจัง ถ่ายรูปห้องน้ำเนี่ย
ต่อจากตอนที่แล้ว (11. อาหาร Mexican ร้าน Cielito Lindo รัฐวิสคอนซิน) เหมือนเดิมค่ะ เราไปชมวิดีโอกันก่อน แล้วค่อยมาชมภาพกันค่ะ (ภาพอยู่ข้างล่างวิดีโอนะคะ) ในตอนที่ 12 นี้ เป็นตอนสุดท้ายในการท่องเที่ยวอเมริกานะคะ
ก่อนออกจากบ้านกินกาแฟกันนิดนึง อันนี้เป็นนมรสมินต์ ไว้ใส่กาแฟ เขาให้ใส่ครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ
แน่นอนว่าเราใส่เยอะกว่านั้น ![]() ไปด้วยกันค่ะ
![]() เราไปนอกเมืองกันสักหน่อย บรรยากาศและอากาศดีมาก ๆ ไม่มีรถติดเลย
![]() ขับรถไปประมาณ 50 นาทีก็ถึง
![]() เดินขึ้นเนินไปอีกสักนิด
![]() ก่อนเข้าไปภายใน ถ่ายภายนอกสักนิด
![]() อากาศดีค่ะวันนี้ มีลม แต่ไม่หนาว
![]() รายละเอียดแต่ละชั้น
แต่วันนี้เขาไม่เปิดให้ขึ้นข้างบน ก็อดไป ![]() เข้าไปข้างในกันค่ะ
![]() สวยงาม
เราไม่ค่อยมีความรู้เรื่องศาสนาคริสต์สักเท่าไหร่ คงต้องรอผู้รู้มาอธิบาย ![]() หน้าต่างสวย ๆ
![]() ภายนอก
![]() ไปกันต่อ… บริเวณหน้า Holy hill จะมีร้านค้าน่ารักอยู่ร้านนึง ร้านนี้ขาย แอ๊ปเปิลไซเดอร์ค่ะ
![]() ตามมาดูกันค่ะ
![]() เลือกใส่ถุง ราคาก็ตามข้างบน ถุงก็ตามข้างล่างค่ะ
![]() เลือกตามใจ
![]() หรือให้เขาเลือกให้ คัดไว้ตามสายพันธ์เลยก็มี
![]() ต่อไป เป็นน้ำ apple cider
![]() ราคา
![]() ชัด ๆ
ปกติเอวิกินน้ำนี่ไม่ได้นะ รสมันแปร่ง ๆ แต่มากินที่ฟาร์มนี้ อร่อยเลย
![]() ต่อไปเป็นน้ำผึ้ง
![]() แบบไม่ใช่เป็นขวด ก็มีแบบ stick
ราคา 3 อัน 1 USD 7 อัน 2 USD ![]() ก้จะบอกว่าแต่ละแท่งผลิตจากดอกไม้อะไร
ซื้อมาอม ๆ ดูดๆ น้ำตาลขึ้นกันไป ซูมๆ
![]() ออกจากร้านชมวิวขากลับกัน
![]() นี่คือ Farmville ใช่ไหม
![]() กลับเข้าเมืองกัน
![]() กลับมาในเมืองเราไป art museum กัน
Milwaukee art museum ![]() ตั๋ว
(ฟรีทุกวันพฤหัสที่ 1 ของเดือน ซึ่งเรารอมาวันนี้ที่มันฟรีค่ะ
![]() ![]() ภายใน ถ่ายรูปได้บางโซนนะคะ
![]() ![]() ![]() อันนี้เด็ด
![]() จากนั้น มากินร้าน Noodle & company ค่ะ
![]() มีผัดไทด้วย แต่รสไม่ไทย
![]() ซ้ายบน เพรสโต้
เส้น ๆ ขวาล่างเขาเรียก Thai soup (ห๊ะ) จากนั้นไปกินไอติม Coldstone (เมืองไทยไม่มีเรอะ)
![]() แต่ปรากฏว่าตอนจอดรถ หาที่เสียค่าจอดรถไม่เจอ พอเดินกลับมาที่รถโดนค่าปรับเลยจ้า 20 เหรียญ จ๊ากกกก
เอาล่ะค่ะ วันสุดท้ายในอเมริกาก็หมดลง วันถัดมาเรามุ่งหน้าไปสนามบินค่ะ
ลาก่อนที่นอนของข้า (จะเอาดีทาง Couchsurfing ว่างั้น แต่นอนโซฟานี่มันสบายดีนะ)
![]() ร่ำลาญาติโยมกันเรียบร้อย เอวิต้องขึ้นเครื่องจาก สนามบิน General mitchell เมือง Milwaukee รัฐ วิสคอนซิน ไปยัง สนามบิน ลากัวเดียร์ นิวยอร์ก
![]() เกท 44 เจ๊า
![]() มีที่ชาร์ตแบต ดีต่อใจคนติดโซเชี่ยลมาก
ไปกัน ฮัมเพลง Empire state of mind
![]() ![]() ชอบภาพนี้มาก เครื่องกำลังจะลง
![]() ถึง สนามบิน ลากัวเดียร์ เราต้องสลับไปสนามบิน JFK แบบเดียวกับขามา (อ่านได้ตอนที่ 5)
เนื่องจากเครื่องเราออกตี 1 แต่กระเป๋าเราใหญ่เราก็ไม่มีปัญญาไปเที่ยวในแมนฮัตตั้นแล้ว จะฝากเป๋าก็เสียดายตัง รอวนไป
อาหารเย็นวันนี้เป็นแมค ราคา 9.35 เหรียญ โฮกกกกกก
![]() น้ำดื่มขวดละ 2เหรียญกว่า โฮก2
(อย่าสนใจหน้าตาอิชั้นเลยค่ะ จะให้ดุน้ำ)
![]() รอจน 4 ทุ่ม ผู้โดยสารก็พากันเข้าแถว คือต้องหาพวกไม่งั้นเหงา ก็ยืนคุยกันไป สัก 4 ทุ่มครึ่งก็เช็คอินได้
![]() พอเข้าไปข้างใน ปรากฏ จากตี 1 กว่า ดีเลย์ไปออกตี 4 ครึ่ง มาฆ่ากูเลยมา ฮ่วย
![]() ระหว่างรอเขาก็แจกขนมกับน้ำอัดลม ดีที่เราได้ที่นั่งรอค่อนข้างสบายก็หลับรอไปค่ะ ตี 4 ครึ่ง เรียกขึ้นเครื่อง
ขึ้นไปก็เสริฟเลย
![]() จริง ๆ หลับอยู่ เจ้คนข้าง ๆ ที่ผูกสัมพันธ์ไว้ตอนเช็คอินสะกิดให้ตื่น กราบขอบพระคุณ
หลับต่อ
มื้อที่ 2
![]() แล้วเครื่องก็ลงที่เซี่ยงไฮ้ รวมเวลา 13 ชั่วโมง
แต่
เนื่องจากเครื่องดีเลย์ไปมาก ทำให้ไฟลทืที่จะไปนาริตะ กำลังจะออกใน 15 นาทีนี้
วิ่ง ดิ เอ๋ วิ่ง …..
โอ้ยยยยยย
เอวิไปผูกมิตรไว้กับสาวจีนคนนึง มาจากนิวยอร์กเหมือนกัน เลยให้นางวิ่งไปก่อนเลย บอกว่าอ้วนนี่พยามวิ่งไปอยู่
ในที่สุดก้ได้ขึ้นเครื่องทันเวลา
แต่….. มีเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์เกิดขึ้น (คืออะไรต้องติดตาม)
พบกันตอนหน้าที่ นาริตะ โตเกียว ประเทศญี่ปุ่นนะคะ
แถมรูปอาหารมื้อจากเซี่ยงไฮ้ ไปนาริตะ มื้อนี้อร่อยมาก
![]() เจอกันที่โตเกียวค่ะ
|
||||||
Copyright © 2018 TheHoneynut - All Rights Reserved Powered by WordPress & Atahualpa |
Recent Comments